นำในแบบของเรา part.2

(ภาพประกอบเป็นเพียงตัวอย่าง บางมิติของลักษณะการนำ ไม่ใช่ว่าหาคำตอบแค่ 4 อย่างนี้พอ) Post ที่แล้ว ได้พูดถึงการหา’ลักษณะการนำ’ ที่เหมาะกับตัวเรา คราวนี้ เรามา’มอง’ตัวเอง ด้วยการ’ถาม’คำถาม สามอย่าง ที่เกี่ยวกับ การ’ประสบ’ (Experience – verb) ซึ่งในที่นี้รวมไปถึง’สิ่งที่เกิดขึ้น’ และ’ความรู้สึก’ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น 1. เราประสบคนอื่นอย่างไร? 2. คนอื่นประสบเราอย่างไร? 3. คนอื่นประสบตัวเค้าเองอย่างไร เมื่ออยู่กับเรา? เราคงต้องถามคำถามหลายคำถาม เพื่อให้ได้คำตอบของสามคำถามนี้ เช่น เราคิดว่าเพื่อนที่ทำงานเราเป็นอย่างไร? เวลาเราพูด นายรู้สึกยังไง? ตอนที่เราไปเที่ยวกันเป็นกลุ่ม การที่มีเรากับไม่มีเรา มันแตกต่างกันอย่างไร? เป็นต้น สิ่งที่เราต้องทำในการรู้คำตอบพวกนี้มานั้นมันไม่ง่ายเลย แต่คำตอบที่ได้มาทั้งหมด จะช่วยให้เราเห็นมากขึ้นว่าลักษณะการนำที่เหมาะกับตัวเรา นั้นเป็นอย่างไร และเป็นก้าวที่’ขาดไม่ได้’ ในการเป็นผู้นำที่ดีขึ้น

นำในแบบของเรา part.1

‘ลักษณะการนำ’มีหลายประเภท แบบที่เข้มงวด หัวแข็ง สั่งการเด็ดขาด หรือแบบที่เน้นการทำงานร่วมกัน พยายามดึงศักยภาพในตัวลูกน้องให้ออกมา หรืออีกสารพัดแบบแล้วแต่ที่จะนึกได้ บางคนอาจจะคิดว่าลักษณะการนำต้องเป็น’แบบใดแบบหนึ่ง’ถึงจะดีที่สุด แต่ว่ามันก็แล้วแต่’สถานการณ์’ ไม่มีลักษณะการนำแบบไหน ที่จะดีทุกสถานการณ์ สิ่งที่เราควรทำ ก็คือ’มองตัวเอง’ และหาคำตอบว่าเราเป็นผู้นำแบบไหน เพื่อที่เราจะได้เลือกที่จะเป็นผู้นำในสถานการณ์ที่จะ ‘เหมาะ’ กับลักษณะการนำที่เข้ากับเรา ถ้าเรายังหาคำตอบไม่ได้ ว่าตัวเราเหมาะกับลักษณะไหน เราก็ต้อง’ทดลอง’ทำสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้น และคอยมองตัวเองใหม่ และเมื่อเรา’เข้าใจ’ตัวเอง เราก็สามารถพัฒนาตัวเอง ให้ใช้ลักษณะการนำหลายรูปแบบมากขึ้น หรือพัฒนาตัวเอง ให้สามารถใช้ลักษณะการนำแบบใดแบบหนึ่ง ให้ดีขึ้นไปอีก ถ้าเริ่มต้นไม่ถูกว่าจะมองตัวเองยังไงดี อาทิตย์หน้ามีเทคนิคง่ายๆ ให้ลองทำกัน    

want – อยากได้

“เมื่อไหร่จะตั้งใจเรียน?” “เมื่อไหร่จะผอม?” “เมื่อไหร่จะทำabcเสร็จซักที?” ทุกคนคงเคยถามคำถามอะไรแบบนี้กับตัวเอง และก็แน่นอนว่าเคยได้ยินคนรอบตัวบ่นอะไรประมาณนี้เช่นกัน ถึงแม้คิดว่าเราตั้งเป้าหมายอยากทำมันให้ได้ และเราก็’เริ่ม’ทำอะไรหลายๆอย่างให้ไปสู่เป้าหมายแล้ว แต่พอผ่านไปซักพัก เราก็ไม่ค่อยตั้งใจทำสิ่งที่จะให้ไรไปสู่เป้าหมายนั้น แล้วพอมีแรงบันดาลใจ ก็เริ่มใหม่ แต่ทุกอย่างก็วนกลับตามรูปแบบเดิม ผลก็คือ ‘ทำไม่ได้ซักที’ ทุกคนเคยมีประสบการณ์แบบนี้แหละ แต่หลายๆคนคงไม่เคยถามกับตัวเองว่า เรา’อยาก’ได้สิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้จริงๆเหรอ ยกตัวอย่าง เรื่องเรียน คนที่อยากจะเรียนเก่ง แต่ทำไม่ได้ซักที ไม่ได้แปลว่าเราไม่ฉลาด แต่อาจจะเป็นเพราะตัวเรารู้สึกว่าเราควรเรียนเก่ง แต่ไม่ได้รู้สึก’อยาก’จะเรียนเก่งขนาดนั้น มันก็เลยไม่มี’แรง’ทำเป้าหมายให้สำเร็จ ความ’อยาก’มันเป็น ‘แรง’ให้เรามุ่งมันทำเป้าหมายให้เราสำเร็จ ถ้าเราขาดความอยาก พยายามต่อไปก็ไม่เกิดผล บางทีสิ่งที่ดีกว่าก็คือการ’เปลี่ยนเป้าหมาย’ของเราเป็นอย่างอื่น

clarity – ชัด

  Quote นี้เป็นอะไรที่นิกว่ามีพลังมากๆ แต่ดูไม่ค่อยมีใครสนใจเลย เป็น quote จาก Littlefinger ตัวละครโปรดของนิกจาก Game of Thrones *โปรดระวังspoilเบาๆ* เค้าไม่ได้มาจากตระกูลยิ่งใหญ่ ไม่ได้ร่ำรวย ไม่ได้มีอำนาจ แต่ด้วยการวางแผนที่แยบยล สามารถไต่ขึ้นมาเป็นผู้ดูแลคลังของจักรวรรดิ และต่อมา ได้เป็นกุมอำนาจ The Vale ซึ่งเป็น 1 ใน 7 อาณาจักร ในจักรวรรดิได้ จาก quote เค้าบอกว่าการที่เค้าจะ’ตัดสินใจ’ทำอะไรซักอย่าง เค้าคิดว่าการกระทำนั้น จะช่วยให้เข้าใกล้’ภาพ’ที่เค้าจินตนาการไว้หรือไม่ และเค้าจะตัดสินใจทำต่อเมื่อคำตอบนั้นคือ’ใช่’ นี่แหละคือการตั้ง’เป้าหมาย’ และทำตามเป้าหมาย หากเป้าหมายเรา’ชัด’ สิ่งที่เราต้องทำในแต่ละวันก็จะชัดขึ้นมาเอง เป้าหมายที่ชัดที่สุดที่นิกเคยวาดไว้ก็คือการเข้า MBA ที่ Top Universityให้ได้ นิกจริงจังกับเป้าหมายนี้มากๆ และมันทำให้นิกทำอะไรหลายอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายนี้ (แต่ไม่หนักเท่าLittlefingerละกันนะ) ถ้ามันไม่ชัดขนาดนี้ นิกคงไม่สามารถเข้า Harvard ได้ด้วยประสบการณ์ทำงานแค่2ปี และไม่ได้จบป.ตรีที่มหาลัยระดับโลกแบบคนส่วนใหญ่ที่นี่ ถ้า ‘เป้าหมาย’ เรา ‘ชัด’… Continue reading clarity – ชัด

‘Goals’ – เป้าหมาย

การที่เราจะรู้ว่าเราควรใช้’เวลา’ของเราไปทำอะไร ให้ส่งผลต่อสิ่งที่ที่ใจเรา’ต้องการ’ ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่มันก็มีวิธี ที่จะช่วยเราได้ หนึ่งในนั้นก็คือการตั้ง ‘เป้าหมาย’ ส่วนตัวนิกได้ใช้วิธีนึง ที่เอามาจากหนังสือเรื่อง Goals ของ Brian Tracy ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือพัฒนาตัวเองระดับคลาสสิก แต่นิกปรับให้ใช้ง่ายขึ้น วิธีก็ตามนี้เลยจ้า หาสมุดโน้ตแบบฉีกได้ 1 เล่ม เขียนสิ่งที่เราต้องการจะทำให้ได้ หรือว่า ‘เป้าหมาย’  5-10 อย่าง ถ้ามากกว่านี้ มันจะไม่สามารถทำได้หมดแล้ว หลายอย่างเกินไป เขียน action ที่เราสามารถ’ทำได้เลย’ เพื่อให้เราก้าวไปสู่เป้าหมาย ในแต่ละเป้าหมาย ควรจะมีaction ตรงนี้ซัก 3-10 อย่าง optional: เขียนสิ่งที่เตือนตัวเอง ให้ตระหนักถึงอยู่ตลอดเวลา ตรงหัวของหน้าแรกของgoalsเรา แค่เนี้ย เสร็จแล้ว การมานั่งตั้งเป้าหมายแล้วเขียนลงไปเนี่ย มันไม่ยากหรอก นิกเห็นมี guide ตั้งหลายอัน แต่สิ่งที่ยากกว่า แล้วแทบไม่มีใครมาแนะนำ ก็คือวิธีการ’ใช้’ และ’ปรับปรุง’เป้าหมายของเรา ให้มันเหมาะกับเรามากขึ้น และเหมาะกับความคืบหน้า(หรือความไม่คืบหน้า)ของเรา ซึ่งนิกมีคำแนะนำหลักๆตามนี้ หยิบเป้าหมายมาอ่าน… Continue reading ‘Goals’ – เป้าหมาย

Fear of missing out

“เฮ้ย เดี๋ยวพลาดนะเว่ย” ทุกคนคงได้ยินบ่อยๆ “เฮ้ย เดี๋ยวพลาดนะเว่ย” ประโยคสั้นๆที่เพื่อนบอกเรา หรืออาจจะเป็นเสียงในหัวตัวเองที่บอกเราก็ได้ ตอนที่เรารู้สึกชีวิตมัน ‘ยุ่งเหยิง’ไปหมด เหตุการณ์ตัวอย่าง: การบ้านยังไม่เสร็จ แต่เพื่อนชวนไปเที่ยว, เหนื่อยจนแทบหมดแรงแต่ก็มีeventที่อยากไป, มาร่วมงานนึง แต่อีกงานนึงที่สนใจก็จะเริ่ม ก่อนงานนี้จบ ฯลฯ เราทำนู่นทำนี่จนเหนื่อยแทบตาย แต่มันก็ไม่รู้สึกว่าสิ่งที่เราทำอยู่มัน’พอ’ แล้วเราก็ผลักตัวเองให้ทำมากขึ้น ‘เหนื่อย’กว่าเดิม แต่ก็เท่านั้น ทุกอย่างยังเหมือนเดิม ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เก่ง หรือเราทำอะไรได้ไม่มีประสิทธิภาพพอ แต่เป็นเพราะเราไม่ได้’เรียงลำดับความสำคัญ'(prioritize) ของสิ่งที่เราต้องการ เราเลยทำมันทุกอย่างซะเลย ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับการที่เราต้องเลือกเราหว่างสองสิ่ง แล้วคิดว่าอะไรสำคัญกว่า เราก็ทำอันนั้น ทำแบบนี้ก็ดี แต่มันก็จะไม่กำจัดความรู้สึก ‘พลาด’ แต่ว่ามันมีวิธีที่จะทำให้’ไม่พลาด’เลย ก็คือการที่เรารู้ว่าเรา’ต้องการ’อะไรจริงๆจากชีวิตเรา มองง่ายๆก็คือการ ‘ตั้งเป้าหมาย’ (set goals) เราจะไม่มามัวคิดว่าเรา’พลาด’ ถ้าเราแน่วแน่ว่าเรา ‘ต้องการ’ อะไร ส่วนวิธีที่จะ ‘ตั้งเป้าหมาย’ แบบง่ายๆ ทุกคนทำได้ นิกเองก็ใช้อยู่มาซัก3ปีแล้ว เดี๋ยวจะแชร์ให้ในโพสต่อไปนะครับ

“ทำไมถึงอยากเข้าที่นี่ครับ” – เทคนิคการสัมภาษณ์เข้า MBA, Part. 1

“Look, if you had one shot or one opportunity to seize everything you ever wanted in one moment, would you capture it or just let it slip?” – Eminem สัมภาษณ์ MBA พลาดครั้งเดียว “จบ” เพราะฉะนั้น อะไรเตรียมตัวไปได้ เตรียมให้เต็มที่ เทคนิคการเตรียมตัวสัมภาษณ์นี้จะเน้นไปที่การเข้า   MBA เป็นหลัก แต่หลายๆข้อแนะนำก็ใช้ได้สำหรับการสัมภาษณ์แบบอื่นด้วยแหละ หน้าที่ของเราในการสัมภาษณ์ คือการ “ขายตัวเอง” จำตรงนี้ไว้ตลอด ว่าจุดประสงค์ของเราคือเสนอข้อดีของเรา ให้เค้าตัดสินใจ “ซื้อ” ซึ่งคือรับเราเข้าไป อีกอย่างนึงที่สำคัญมาก ก็คือจำไว้ว่า ทุกอย่างที่เราพูด ต้องน่าจดจำ ไม่งั้นไม่มีประโยชน์ หนังสือ… Continue reading “ทำไมถึงอยากเข้าที่นี่ครับ” – เทคนิคการสัมภาษณ์เข้า MBA, Part. 1

“กล้าที่จะถูกเกลียด”

สิ่งนึงที่ไม่ค่อยกล้าจะบอกใคร แต่มาถึงจุดๆนี้แล้ว ก็บอกไปเถอะ ตอนแรก นิกเลือกที่จะไม่สมัคร Harvard เพราะว่าใครๆก็บอกว่าเรียนโหดสุดแล้ว กดดัน ต้องพูดเก่ง ต้องตื่นตัวตลอดเวลา ตอนนั้นฟังแล้วก็แบบ โอย ไม่ต้องลำบากตัวเองขนาดนั้น สมัครที่อื่นดีกว่า แต่ด้วยเหตุผลที่ขี้เกียจเล่า สุดท้ายก็ยื่นสมัคร Harvard ตอน 1 อาทิตย์ก่อน deadline (แต่เตรียมยื่นที่อื่นเกือบจะพร้อมแล้ว ก็เลยเอามาดัดแปลงเพื่อสมัครของที่นี้ได้) แล้วสุดท้ายก็ดันติดด้วยสิ ตอนรู้ว่าติดใจนึงก็ดีใจ อีกใจนึงก็ ‘กลัว’ แต่โอกาสมันมาขนาดนี้แล้ว จะไม่รับไว้แค่เพราะกลัวมันก็ไม่ใช่เรื่อง แล้วก็ได้อ่านหนังสือเรื่อง “กล้าที่จะถูกเกลียด” ของ คิชิมิ อิชิโร กับ โคะกะ ฟุมิทะเกะ ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดทางปรัชญา/จิตวิทยา ที่เน้นไปในการพัฒนาตัวเอง ก้าวไปข้างหน้า และมีความสุขกับมัน หนังสือดีมาก แนะนำเลย “กล้าที่จะถูกเกลียด” ตามที่นิกตีความ คือการกล้าที่จะยอมรับและเปิดเผยในจุดอ่อนของตัวเองโดยไม่กลัวที่จะถูกคนอื่นมองในทางที่ไม่ดี และออกจาก ‘comfort zone’ เพื่อเปลี่ยนตัวเองเป็นคนที่ดีขึ้น พอได้อ่านแล้ว ก็มองกลับไปที่ตัวเอง ว่าเราก็มีความรู้สึกแบบนี้หลายครั้ง เช่นตอนที่ไม่กล้าสมัคร Harvard ก็เพราะกลัวว่าจะถูกเพื่อนร่วมชั้นมองว่าอ่อนกว่าพวกเค้า… Continue reading “กล้าที่จะถูกเกลียด”

“ทำยังไงถึงติดเหรอ?”

“พี่ทำยังไงถึงติดเหรอ” คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่นักเรียน/ศิษย์เก่า MBA Top Univ. โดนถาม ไปพวก info session งานไหนของมหาลัยไหนก็ต้องมีคนถามคำถามนี้ แล้วคำตอบที่ได้ก็จะประมาณ “เอาจริงนะ พี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน” มีคนเก่งๆสมัครมาตั้งเยอะ ก็ไม่แน่ใจว่าคนคัดเลือกเค้าชอบพี่ตรงไหน ก็ถูกของเค้าแหละ นิกก็ไม่รู้ว่า Admissions Committee ของ Harvard  ประทับใจอะไรในตัวนิกเป็นพิเศษ มันไม่ได้มีอะไรในตัวเราที่ทำให้เรารู้ว่าเราติดชัวร์ แต่ตอนนั้น นิกรู้ว่านิก ‘ดีพอ’ ที่จะให้เค้าเลือกเรา นิกพัฒนา profile ของตัวเอง ในทุกๆด้านที่จะทำได้ มีอะไรยังเป็นจุดอ่อน ก็จัดการปรับปรุงมันซะ เน้นว่า เราต้องพยายามปรับปรุง ‘ทุกด้าน ‘ ที่จะส่งผลต่อการติด MBA รวมไปถึง: GMAT / TOEFL: อันนี้เป็นอันที่หลายๆคนทุกข์ทรมาณกับมัน อยากติด Top U ก็ควร GMAT 700+ อย่างต่ำสุดๆจริงๆ ก็ 650 แต่ก็จะทำให้ต้องโดดเด่นในด้านอื่นมากๆ ไม่งั้นหมดหวัง… Continue reading “ทำยังไงถึงติดเหรอ?”

เจ้าของ blog

เจ้าของblogชื่อ นิก นะครับ เรียนจบตรีที่วิศวะจุฬาฯ และได้โอกาสไปเรียนต่อ MBA ที่ Harvard ซึ่งจะเป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของผมเลย ผมเชื่อในการพัฒนาตัวเองอย่างมาก ตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นของช่วงชีวิต Harvard MBAของผม เลยเห็นเป็นโอกาสดีที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์ และ แนวคิดในการพัฒนาตัวเอง ให้ทุกคนได้ทำให้พรุ่งนี้ของเรา เก่งกว่าเดิม ไปพร้อมๆกัน